วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558



ประเพณีลากพระ (ชักพระ)


                                                            (ภาพจาก Facebook.com/ruendorkak)

ความสำคัญ

เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน
                                                           (ภาพจาก Facebook.com/ruendorkak)

 ลากพระหรือชักพระ

เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนากระทำหลังจากวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา 1 วัน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยพุทธศานาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือรถ หรือล้อเลื่อน แล้วแห่แหนชักลากไปตามลำน้ำหรือตามถนนหนทาง ถ้าท้องถิ่นในอยู่ริมน้ำหรือมีลำคลอง ก็ลากพระทางน้ำ ถ้าห่างไกลลำคลองก็ลากพระทางบก แล้วแต่สภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การลากประเภทไหน

                                           (ภาพจาก Facebook.com/ruendorkak)
การเตรียมการลากพระ

เมื่อเดือน 9 ผ่านไปแล้ว หลายวัดที่ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะร่วมประเพณีลากพระในเดือน 11 ก็จะเริ่มเตรียมการหุ้มโพนเพื่อใช้ "คุมโพน" (ประโคมล่วงหน้า) และใช้ประโคมในวันพิธีรวมทั้งให้ชาวบ้านนำชัน (ประชัน) หรือแข่งขันกับของวัดอื่น ๆ การหุ้มโพนมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนทั้งในการขุดและขึงหนังให้ตึงเต็มให้ใช้เวลานานแรมเดือน บางวัดมีพิธีไสยศาสตร์ประกอบด้วย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการนี้โดยตรง แต่ละวัดจะต้องมีโพน 2 ใบ ให้เสียงทุ้ม 1 ใบ เสียงแหม 1 ใบ วัดไหนโพนเสียงดีแข่งขันชนะ ชาวบ้านก็พลอยได้หน้าชื่อชมยินดีกันไปนานเป็นแรมปี เมื่อใกล้วันลากพระประมาณ 7 หรือ 3 วัน ทุกวันที่ จะลากพระในปีนั้นก็จะเริ่มคุมโพน (ตีประโคม)
เพื่อปลุกใจชาวบ้านให้กระตือรือร้นร่วมพิธีลากพระ และอาจนำไปท้าทายแข่งขันกับวัดใกล้เคียง พร้อมกันนั้นทั้งพระภิกษุสามเณรและอุบาสกที่มีฝีมือทางช่างก็จะช่วยกันจัดตกแต่งเรือพระและ "บุษบก" ซึ่งต้องทำกันอย่างสุดฝีมือ เพราะถ้าของวัดใดไม่สวยเท่าที่ควร บรรดาทายกทายิกา แม้ศิษย์วัดและพระภิกษุสามเณรก็จะรู้สึกน้อยหน้าวัดอื่นที่ตกแต่งดีกว่า ในส่วนของชาวบ้านก็จะเตรียมการตกแต่งเรือพายที่เรียกว่าเรือเพรียว เตรียมสรรหาฝีพาย ซ้อมพายเรือแข่งเตรียมเครื่องแต่ตัวตามทที่ได้กำหนด ตกลงกัน สิ่งที่ทุกครอบครัวจะต้องกระทำก็คือ การเตรียม "แทงต้ม" เตรียมหาใบกะพ้อ และ ข้าวสารข้าวเหนียว เพื่อนำไปทำขนมต้ม "แขวนเรือพระ"

สาระ

ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้

๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร
๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย
๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น